ชื่อไทย : ศรีตรัง
ชื่อท้องถิ่น :
ชื่อสามัญ : Green ebony/ Jacaranda
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jacaranda obtusifolia Humb. & Bonpl.
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน โปร่ง เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา 
ใบ :
ประกอบแบบขนนกสองชั้น ปลายคี่ ก้านใบรวมยาว 40-50 ซม. ใบย่อยจำนวนมาก เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 0.5-0.7 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน แผ่นใบทั้งสองด้านขนาดไม่เท่ากัน
ดอก :
สีม่วง ออกดอกเป็นช่อแขนงขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง ช่อดอกรูปพีระมิด ยาว 5-9 ซม. ดอกย่อยจำนวนมาก เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 1.5-2.5 ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 2-4 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ คล้ายรูประฆัง ดอกทยอยบาน และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ 
ผล :
เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2-2.5 ซม. เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก  เมล็ด แบนขนาดเล็ก มีปีก
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : ธันวาคม สิ้นสุดระยะติดดอก : มีนาคม
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา

ถิ่นกำเนิด เป็นไม้ท้องถิ่นของอเมริกาใต้ ตอนเหนือของอเมริกาใต้ เวเนซุเอลา

การกระจายพันธุ์

การใช้งานด้านภูมิทัศน์

การปลูกและการขยายพันธุ์ :

ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง โตช้า เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายน้ำดี ชอบอากาศเย็นและชื้น เช่น ทางภาคเหนือและภาคใต้ ต้นจะออกดอกสวยงามเหมาะจะปลูกในที่ที่มีฝนตกชุก

โดยการเพาะเมล็ด ต้นมีอายุ 4-6 ปี จึงจะออกดอก

รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :
แหล่งอ้างอิง : ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดตรัง [1] วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2542. ไม้ต้นประดับ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร. [2] ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด http://www.panmai.com/ 23082553
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
ไม้ยืนต้น
ที่อยู่ :
หมายเหตุ : ต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศรีตรัง นำเข้ามาไทยโดยพะรยารัษฎานุประดิษฐ์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต นำมาปลูกที่จังหวัดตรัง [1]
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554